วันศุกร์ที่ 13 กรกฎาคม พ.ศ. 2555

ความสำคัญของอาหารเช้า

          การบริโภคอาหารมื้อเช้าถือว่าเป็นอาหารมื้อที่สำคัญต่อสุขภาพร่างกายมากที่สุด เนื่องจากเมื่อตื่นนอนในตอนเช้า เราไม่ได้กินอาหารนับจากมื้อเย็นประมาณสิบชั่วโมงหรือมากกว่า โดยระดับน้ำตาลในเลือดจะต่ำ ในขณะที่เราลุกขึ้นเคลื่อนไหวทำกิจกรรมต่างๆ เราจะรู้สึกหิว เพราะร่างกายต้องการพลังงานเติม โดยสมองจะกระตุ้นศูนย์ควบคุมความหิวให้เราเกิดความรู้สึกหิวในเวลาต่อมา ซึ่งทำให้เราหิวมาก และจะรับประทานอาหารในมื้อถัดมาในปริมาณมากขึ้น หากเรายังไม่ได้เติมพลังงานให้แก่ร่างกาย หรือยังไม่ได้กินอาหารเช้า ร่างกายต้องไปดึงพลังงานจากคาร์โบไฮเดรตที่สะสมไว้ในตับ ซึ่งร่างกายเก็บเป็นเสบียงไว้ใช้ในยามจำเป็นเพื่อมาเพิ่มระดับน้ำตาลในกระแสเลือด เพื่อให้ร่างกายทำงานได้ตามปกติ แต่ไม่นานนักพลังงานส่วนนี้จะถูกใช้หมดไปเพราะไม่มีพลังงานใหม่มา สุดท้ายร่างกายอาจจะปรับสมดุลโดยการลดกลไกการเผาผลาญพลังงานในร่างกายลงเพื่อสำรองไว้ใช้อย่างจำเป็น เมื่อมื้อใดเรารับประทานอาหารเข้าไปมากจะทำให้ร่างกายได้รับพลังงานมากเกินไป และพลังงานที่เกินจะถูกเปลี่ยนเป็นไขมันและสะสมไว้ในร่างกายในที่สุดซึ่งเป็นเหตุที่ทำให้เรามีน้ำหนักเพิ่มขึ้นตามมา
         
                นอกจากนี้ผลการวิจัยหลายเรื่องได้กล่าวถึงการรับประทานอาหารมื้อเช้าที่มีคุณค่า มีความสำคัญเพราะคนที่กินอาหารเช้ามีพลังงานในการทำงานได้นานกว่าการกินอาหารเช้าทำให้ลดปริมาณการกินอาหารว่าง คนที่ไม่กินอาหารเช้ามีอัตราการเผาผลาญอาหารต่ำกว่าคนที่กินอาหารเช้าเป็นประจำ
เด็กที่กินอาหารเช้ามีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่า ให้ความร่วมมือดีกว่า และมีสมาธิในการเรียนดีกว่าเด็กที่ไม่ได้กินอาหารเช้า    อีกสิ่งที่สำคัญมากก็คือ การไม่รับประทานอาหารเช้าอาจเป็นสาเหตุของการเกิดโรคอ้วนได้ เหตุเพราะ เรารับประทานอาหารครั้งสุดท้ายมื้อเย็น กว่าจะไปรับประทานอีกครั้งคือมื้อกลางวัน ซึ่งช่วงเวลาระหว่างสองมื้ออาหารนี้นานมาก ทำให้ถึงเวลารับประทานมื้อกลางวัน ทำให้หิวมากกว่าปกติ และจะรับประทานเกินความต้องการของร่างกาย ซึ่งส่วนที่เหลือจะเป็นไขมัน การที่คนเราไม่รับประทานอาหารมื้อเช้าเลย หรืองดมื้อใดมื้อหนึ่งไปทำให้เขาขาดสารอาหารไปอย่างน้อย 1/3 ของความต้องการพลังงานทั้งหมดของร่างกาย ซึ่งมักทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นมาได้เพราะทำให้การรับประทานอาหารมื้อต่อไป เพิ่มปริมาณมากขึ้นเพราะหิวมากขึ้น หรือไม่ก็จะทำให้เรารับประทานระหว่างมื้อมากขึ้น หรือรับประทานอาหารเป็นประเภทจุบจิบ เช่น อาหารประเภทขนมขบเคี้ยว ขนมหวาน และน้ำอัดลม เป็นต้น โดยอาหารเหล่านี้แฝงไปด้วย เกลือ น้ำตาล และไขมันอิ่มตัวเป็นจำนวนมาก ซึ่งส่งผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายของเรา ทำให้น้ำหนักเกินหรืออ้วนได้ง่ายขึ้น และมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นๆ ตามมาหลายอย่าง เช่น โรคเบาหวาน โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคข้อและกระดูกอักเสบ ซึ่งเป็นสาเหตุหลักของการเจ็บป่วยและการตายในผู้ใหญ่

คนรักสุขภาพ

ประโยชน์ของการดื่มน้ำ "น้ำ คือ หนึ่งใน โภชนาการเพื่อสุขภาพ และรูปร่างที่ดี" อาจเป็นเรื่องเหลือเชื่อที่น้ำจะเป็นสิ่งสำคัญที่มีส่วนช่วยในการดูแลรูปลักษณ์แม้ว่าคนส่วนใหญ่จะต้องดื่มน้ำเพราะความจำเป็น แต่ในความเป็นจริง น้ำ เป็น"อาหารอันวิเศษ”ที่ช่วยในการดูแลรูปลักษณ์และสุขภาพอย่างถาวร

ทานน้ำเพื่อให้ไตทำงาน ไตไม่สามารถทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพหากเราทานน้ำไม่เพียงพอ เมื่อไตไม่สามารถทำงานได้ตามปกติ ตับก็จะเป็นตัวที่ต้องทำงานหนักขึ้น หน้าที่หลักของตับ ก็คือ ช่วยเร่งการเผาผลาญไขมันที่สะสมในร่างกายให้เกิดเป็นพลังงาน แต่ตับต้องมาทำหน้าที่ของไต ทำให้มันไม่สามาถทำหน้าที่หลักได้อย่างเต็มที่ ด้วยเหตุนี้เองจึงทำให้เกิดการเผาผลาญไขมันได้น้อยลง และยิ่งเพิ่มการสะสมไขมันในร่างกายมากขึ้น เป็นสาเหตุให้การดูแลรูปลักษณ์หยุดชะงักลงนำมาซึ่ง โรคอ้วนกักน้ำด้วยน้ำ

การดื่มน้ำอย่างเพียงพอเป็นการรักษาของเหลวไว้ได้ดีที่สุด เมื่อร่างกายได้รับน้ำน้อยมันจะรับรู้ว่าจะต้องรักษาความอยู่รอดไว้โดยจะต้องรักษาน้ำไว้ทุกหยด ร่างกายจะกักเก็บน้ำไว้ในที่ว่างพิเศษในโพรงเล็กๆ (ภายนอกเซลล์) ซึ่งจะเห็นได้จากอาหารบวมที่เท้า มือ และขา การขับปัสสาวะจะช่วยให้ดีขึ้นชั่วคราว และจะบังคับให้ร่างกายเกิดความรู้สึกว่าจะต้องมีน้ำเข้ามากักเก็บไว้ พร้อมกับความต้องการสารอาหารที่สำคัญบางชนิด เมื่อร่างกายได้รับน้ำเพียงพออาการที่เกิดขึ้นก็จะหายเป็นปกติ

วิธีที่จะหลีกเลี่ยงปัญหาการขาดน้ำในร่างกาย ก็คือ เราจะต้องดื่มน้ำในปริมาณมากเพื่อที่ร่างกายจะมีน้ำไว้ใช้ยามขาดแคลน หากคุณมีปัญหาร่างกายขาดน้ำอาจมาจากสาเหตุที่ร่างกายได้รับปริมาณเกลือมากเกินไป ร่างกายของเราจะสามารถรับปริมาณโซเดียมได้จำนวนหนึ่งเท่านั้น แต่การกำจัดปริมาณเกลือที่ทานเข้าไปเกินความต้องการนั้นสามารถทำได้ง่าย เพียงแต่ดื่มน้ำให้มากขึ้นเท่านั้น เพราะน้ำจะช่วยให้ไตขับโซเดียมออกมา คนที่มีน้ำหนักมากร่างกายต้องการน้ำมากกว่าคนผอม คนตัวใหญ่จะมีการเผาผลาญที่มากกว่า น้ำจึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งสำหรับคนที่มีน้ำหนักมาก เพราะน้ำเป็นตัวสำคัญที่ช่วยในการเผาผลาญไขมัน

น้ำช่วยทำให้กล้ามเนื้อของเรามีความชุ่มชื้น และทำให้ผิวหนังไม่เหี่ยวย่น หลังจากการดูแลรูปลักษณ์เซลล์ขนาดเล็กสามารถลอยตัวอยู่ได้ด้วยน้ำทำให้ผิวหนังดูเปล่งปลั่งและสดใสชุ่มชื้น

น้ำช่วยกำจัดของเสีย ในระหว่างการดูแลรูปลักษณ์ร่างกายจะมีของเสียโดยเฉพาะไขมันที่ต้องกำจัดออก ซึ่งถ้าหากร่างกายมีน้ำเพียงพอก็สามารถกำจัดของเสียเหล่านี้ออกมาได้มาก ดังนั้น เพื่อให้ โปรแกรมโภชนาการเพื่อสุขภาพ ทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ คุณจึงต้องดื่มน้ำให้เพียงพอแก่ความต้องการของร่างกาย อย่างน้อยวันละ 2½ ลิตร

กุญแจ 3 ดอกสู่ความสำเร็จ

 เมื่อสมัยผมเริ่มมากทำธุรกิจเครือข่ายใหม่ๆ ผมเคยย่อท้อบ่อยครั้ง แม้ว่าเราจะมีทีมงานแล้ว แต่ทำไมทีมงานเราไม่ทำงานบ้างเลยหละ  ผมได้เอาเรื่องนี้ไปปรึกษากูรูท่านหนึ่งในวงการ ท่านเป็นคนที่มีความสามารถมากๆๆ ท่านดูเงียบๆ ไม่น่าเชื่อว่าจะเก่ง (ปัจจุบัน ผมเองก็ยังคงทำงานอยู่กับท่าน)     สิ่งที่ท่านได้กล่าวกับผมมันทำให้ผมเข้าใจคำว่า การประเมินการทำงานของตัวเอง มันเป็นเรื่องที่ เราจำเป็นต้องคิด และลองเปรียบเทียบกับสิ่งที่เราได้ปฏิบัติลงไปในระยะเวลาที่ผ่านมา คล้ายๆกับการให้เกรดกับตัวนั่นหละ......เอ่....ถึงตอนนี้หลายๆคนคงเริ่มคิด แล้วว่า เกณฑ์ที่จะให้คืออะไรบ้าง ผมขอตอบแบบนี้ละกัน
1.   การเปิดตลาดใหม่ๆ
2.   การสร้าง promotion
 3.   การสร้าง Brand

ที่มา http://fws.cc/tiensstar/index.php?topic=959.0
ในที่ ที่มีแต่ “ความเงียบ”
ใช่ว่าจะมี “ความเหงา” เสมอไป
เพราะในที่ ที่มี “คนมากมาย”
ก็มี “ความเหงา” ได้ เช่นกัน

การอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม


ที่มา http://www.youtube.com/watch?v=Q3epD2G3rV4&feature=related
ได้รับข้อความของเธอ
เลยละเมอส่งตอบไป
ถึงแม้เราอยู่แสนไกล
ให้เธอหันหลังไป
จะเจอฉันไงคนดี
ได้รับข้อความของเธอ
เลยละเมอส่งตอบไป
ถึงแม้เราอยู่แสนไกล
ให้เธอหันหลังไป
จะเจอฉันไงคนดี
อย่าปล่อยให้”คนของหัวใจ
มาท​ำร้าย”คนปัจจุบัน”ให้บอบช้ำ
อย่ามัวแต่ดูแล”คนในความทรงจำ”
จนเผลอเหยียบย่ำ”คนปัจจุบันของหัวใจ”

วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ SME

คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs (ธุรกิจขนาดย่อม) 
            1.  ต้องกล้าเสี่ยงอย่างมีเหตุผล
            2.  ต้องมีความมั่นใจในตนเอง
            3.  ต้องเป็นผู้ที่ชอบทำงานหนักและทนทานต่อการทำงาน
            4.  ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย
                มีการวางแผนเป็นขั้นตอนที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
            5.  ต้องเป็นผู้ที่พร้อมที่จะรับผิดชอบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจ
                และจะต้องมีมาตรการที่จะควบคุมให้ธุรกิจดำเนินอยู่ตลอดไป
            6.  ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดในทางสร้างสรรค์ที่จะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ออกสู่ตลาด


สาเหตุที่ทำให้บุคคลสนใจในการทำธุรกิจขนาดย่อม
  1.  มีความภูมิใจในการเป็นเจ้าของธุรกิจเพื่อเป็นการสร้างการยอมรับ
     จากสังคมมากกว่าการเป็นลูกจ้าง
  2.  การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมเป็นงานที่สามารถสร้างความสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น
      ผู้ดำเนินธุรกิจสามารถแสดงความสามารถในการบริหารงานได้อย่างเต็มความสามารถ
  3.  ผู้ดำเนินธุรกิจมีความเป็นอิสระในการบริหารงานได้ตามความต้องการโดย
      ไม่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของบุคคลอื่นทำให้สามารถตัดสินใจและแก้ไขปัญหาได้
      ด้วยตนเอง

หน่วยงานของรัฐบาลและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่ช่วยเหลือ SMEs ในการให้สินเชื่อ

1. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที)    สถานที่ติดต่อ สำนักส่งเสริมธุรกิจ สำนักงานใหญ่  โทร 0-2253-7111

2. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (บอย.)

    สถานที่ติดต่อ ฝ่ายสินเชื่อ สำนักงานใหญ่   โทร 0-2642-5201 - 10 

 3. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

    สถานที่ติดต่อ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 
    อาคารชาญอิสระทาวเวอร์   โทร 0-2308-2741 - 8 


4. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
   สถานที่ติดต่อ ส่วนบริหารเงินทุน สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัว
   และหัตถกรรม โทร 0-2248-8098 , 0-2202-4475

 5.ธนาคารแห่งประเทศไทย
   สถานที่ติดต่อ สายงานสินเชื่อ ฝ่ายการธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย
   โทร  0-2282-2414 , 0-2283-5414 ,  0-2283-5427

6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim   Bank)
   สถานที่ติดต่อ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
   อาคารเอ็กซิม สำนักงานใหญ่ โทร 0-2271-3700 ,   0-2278-0047

7. ธนาคารออมสิน
   สถานที่ติดต่อ กองสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทและกองสินเชื่อเพื่อธุรกิจ
   ฝ่ายสินเชื่อ สำนักงานใหญ่ โทร  0-2299-8000    ต่อ 2112-3 

8. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
   สถานที่ติดต่อ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์สำนักงานใหญ่
   โทร 0-2280-0180 ,   0-2281-7335


9. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
    สถานที่ติดต่อ งานสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรมในภาคเอกชน
    ฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมธุรกิจและเทคโนโลยี สำนักงาน  พัฒนาวิทยาศาสตร์
   และเทคโนโลยีแห่งชาติ โทร 0-2248-7541 - 8


การให้บริการของหน่วยงานของรัฐแก่  SMEs
1. สำนักพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม (สพธ.)  สังกัด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 
กระทรวงอุตสาหกรรม  หน้าที่หลักการพัฒนา และสนับสนุนทางวิชาการจัดการ
เพื่อเพิ่มสมรรถนะ และขีดความสามารถแก่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมโดยให้บริการ
ฝึกอบรมด้านเทคนิคการจัดการสาขาต่างๆ   สถานที่ติดต่อ สำนักพัฒนาธุรกิจ-
อุตสาหกรรม ชั้น 5  อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี  กรุงเทพฯ 10400  โทรศัพท์ 0-2246-4301 - 2
โทรสาร 0-2246-4300 , 246-4302 

2. สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน  สังกัด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม  หน้าที่หลักการพัฒนา และสนับสนุนทางวิชาการจัดการ
เพื่อเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถแก่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมโดยให้บริการ
ฝึกอบรมด้านเทคนิค  ในการทำงานของผู้ประกอบการ และช่างเทคนิค
ในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ  สถานที่ติดต่อสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมซอยตรีมิตร  ถนนพระราม 4
เขตคลองเตย   กรุงเทพฯ  10110   โทรศัพท์ 0-2381-105 -3
โทรสาร 0-2381-1056


3. สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ
  สังกัด กรมส่งเสริมการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์  หน้าที่หลักจัดการอบรมสัมมนา เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ
ทำธุรกิจเพื่อการส่งออกสถานที่ติดต่อ สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ
กรมส่งเสริมการส่งออก  22/77 ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0-2511-5066 - 77 ต่อ 358 , 476 และ 359


4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ฝ่ายอบรม สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดการอบรมวิชาชีพสำหรับประชาชน โดยร่วมกับ
ภาควิชาคณ ะและสถาบันของมหาวิทยาลัย เพื่อให้บริการในวิชาชีพแขนงต่าง ๆ
สถานที่ติดต่อฝ่ายฝึกอบรมสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900   โทรศัพท์ 0-2579-2294 ,
0-2942-8460 ต่อ 219 , 220 , 221 , 222 โทรสาร ต่อ 207

แหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจSME

แหล่งเงินทุน
            เงินทุนที่ผู้ประกอบการนำมาใช้เริ่มต้นธุรกิจอาจจะมาจากส่วนของเจ้าของ หรือเงินทุนจากการก่อหนี้ ธุรกิจขนาดย่อมต้องการเงินทุนระยะสั้นและเงินทุนระยะยาวหลายประเภท ควรต้องการเงินทุนระยะสั้น ได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน บัญชีลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือ ส่วนความต้องการเงินทุนระยะยาว ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร เครื่องใช้ เครื่องตกแต่งและอุปกรณ์   แหล่งเงินทุนเพียงไม่กี่แห่งที่ให้ธุรกิจกู้ยืมเงินเพื่อตอบสนองความต้องการทุกอย่าง สถาบันการเงินส่วนใหญ่มีความเชี่ยวชาญในการให้กู้ยืมเงินเฉพาะความต้องการเพียงสองอย่างเท่านั้น

            
แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ เงินทุนจากส่วนของเจ้าของจะมาจากเงินออมส่วนตัว หุ้นส่วน หรือโดยการ
ขายหุ้นของบริษัทจำกัด แหล่งเงินทุนเพื่อใช้เริ่มต้นธุรกิจซึ่งเป็นแหล่งที่ดีที่สุดและนิยมใช้กันมากที่สุดคือ เงินออม
ของเจ้าของ เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับธุรกิจขนาดย่อมมีส่วนแนะนำว่าผู้ประกอบการของธุรกิจขนาดย่อมควรจะจัด
หาเงินทุนเริ่มแรกอย่างน้อยที่สุด 50 เปอร์เซ็นต์ เงินทุนส่วนที่เหลือผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องใช้การกู้ยืมเงินที่
ต้องมีการชำระคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ย หรือใช้วิธีหาผู้ร่วมทุนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน หรือการขายหุ้นของบริษัทจำกัด
 หรือการเพิ่มทุนเพื่อให้กิจการมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินกิจการ


แหล่งเงินทุนจากการก่อหนี้ : แหล่งเงินทุนจากการก่อหนี้ของผู้ประกอบการธุรกิจ
ขนาดย่อมคือธนาคารพาณิชย์ผู้จำหน่ายสินค้า ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอุปกรณ์ บริษัทการเงิน บริษัทประกันภัย

 และนักลงทุนเอกชน

1. ธนาคารพาณิชย์ เป็นแหล่งเงินกู้ระยะสั้นแหล่งหนึ่งที่ให้กู้ยืมเงินทุนระยะสั้นมากกว่าสถาบันการเงิน
ประเภทอื่นๆ ทุกประเภทธนาคารพาณิชย์มักจะไม่ให้ธุรกิจกู้ยืมเงินเพื่อนำไปใช้ในการซื้อทรัพย์สินถาวร
ที่มีอายุการใช้งานเป็นเวลานาน เช่น อาคารและที่ดิน แต่ธนาคารมักจะให้ธุรกิจกู้ยืมเงินเพื่อนำไปซื้อ
อุปกรณ์และสินค้าคงเหลือ และธนาคารพาณิชย์ยังช่วยเหลือธุรกิจในการจัดหาเงินทุนโดยใช้บัญชีลูกหนี้

2. ผู้จำหน่ายสินค้า เป็นแหล่งสินเชื่อระยะสั้นที่สำคัญแหล่งหนึ่งของธุรกิจขนาดย่อม ผู้ที่จำหน่ายสินค้าให้กับ
ธุรกิจมักจะให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เมื่อมีการซื้อสินค้าในระยะเวลาสั้นๆ 

3. ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอุปกรณ์ จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเมื่อธุรกิจต้องการซื้ออุปกรณ์ต่างๆ
 เพื่อจูงใจให้ธุรกิจซื้ออุปกรณ์ของตน เงินกู้ประเภทนี้จะอยู่ในรูปของสัญญาการขายผ่อนชำระ 

4. โรงงานอุตสาหกรรม คือ สถาบันการเงินที่ช่วยธุรกิจจัดหาเงินโดยการบัญชีลูกหนี้ค้ำประกัน 
 หรือโรงงานอุตสาหกรรมอาจซื้อหรือคิดลดบัญชีลูกหนี้ของธุรกิจ โดยมีเงื่อนไขเช่นเดียวกับธนาคารคือ
 กิจการจะรับผิดชอบบัญชีลูกหนี้ที่เรียกเก็บไม่ได้ในขณะเดียวกันโรงงานอุตสาหกรรมที่รับซื้อบัญชีลูกหนี้
  ก็จะวิเคราะห์ความสามารถในการเรียกเก็บเงินของกิจการด้วย

5. บริษัทการเงิน จะซื้อสัญญาการขายผ่อนชำระจากธุรกิจ เมื่อลูกค้าเซ็นสัญญาการขายผ่อนชำระกับธุรกิจ
 ธุรกิจจะขายสัญญานี้ให้แก่บริษัทการเงินและรับเงินเต็มค่าของสัญญาบริษัทการเงินจะทำสัญญากับผู้ประกอบ
การ โดยมีเป้าการขายและการขายสัญญาผ่อนชำระกับบริษัทการเงินว่าควรจะมียอดเงินจำนวนเท่าไรต่อปีหรือ
ต่องวด ซึ่งเป็นวิธีนิยมใช้กันมากในการขายรถยนต์และเครื่องใช้ขนาดใหญ่ บริษัทการเงินจะให้ความช่วยเหลือ
ทางการเงินแก่ผู้ขายรถยนต์ เพื่อนำเงินไปซื้อรถยนต์มาเก็บไว้ เมื่อกิจการขายรถยนต์ไปแล้ว บริษัทการเงินจะ
เรียกเก็บเงินผ่อนชำระพร้อมดอกเบี้ยจากผู้ซื้อโดยตรง

6. บริษัทประกันภัย จะให้เงินกู้ระยะยาวแก่ธุรกิจขนาดย่อม เพื่อนำไปซื้อทรัพย์สินถาวรบริษัทประกันภัยจะ
เก็บค่าเบี้ยประกันตามกรมธรรม์ประกันภัยและนำเงินที่เก็บได้ไปลงทุนในหุ้นพันธบัตร และให้ธุรกิจกู้ยืม
 บริษัทประกันภัยถูกควบคุมโดยหน่วยงานของรัฐบาลและประเภทของเงินกู้ที่จะให้ธุรกิจกู้ยืมได้ จะถูกควบคุม
ให้อยู่ภายในขอบเขตเพื่อปกป้องผลประโยชน์ผู้ถือกรมธรรม์บริษัทประกันภัยมักจะให้เงินกู้กับธุรกิจขนาดย่อม
ที่มีหลักประกันเป็นมูลค่าสูงเพื่อเป็นการประกันการชำระคืนเงินกู้

7. นักลงทุนเอกชน เงินออกของประชาชนเป็นแหล่งเงินทุนของธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจจะกู้ยืมเงินที่มี
ระยะเวลาชำระคืนระหว่าง 1- 5 ปี นักลงทุนเอกชนมักจะเป็นบุคคลที่เต็มใจเสี่ยงนำเงินไปลงทุนในธุรกิจ
 เพื่อให้ได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของเงินออกและพันธบัตร

ธุรกิจขนาดSME

ความหมายของธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม
ธุรกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต การจำหน่าย และการบริการ
ธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง ธุรกิจที่เป็นอิสระมีเอกชนเป็นเจ้าของ
ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใดไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคล
หรือธุรกิจอื่น มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำและมีพนักงานจำนวนไม่มาก

ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม
1. ธุรกิจขนาดย่อมช่วยในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อม
ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้จากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจไปสู่กลุ่มคนต่าง ๆ ทำให้เกิดการจ้างงาน
และประชาชน มีรายได้ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น

2. ธุรกิจขนาดย่อมเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่เพราะความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจขนาดย่อม
ทำให้ธุรกิจมั่นคงมียอดการผลิตที่สูงขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีที่สูงขึ้นมาใช้ในการผลิตซึ่งสิ่งเหล่านี้
เป็นฐานไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่

3. ธุรกิจขนาดย่อมเป็นแหล่งผลิตสินค้าใหม่ ๆ เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลร่วมกันคิด
และผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด โดยที่ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่กล้าเสี่ยงต่อการลงทุน

ธุรกิจ lady gaga

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger ของ รุ่งฤดี จันเหลือง Blog นี้สร้างเพื่อไว้ใช้เรียนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน