วันศุกร์ที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2555

คุณสมบัติของผู้ประกอบธุรกิจ SME

คุณสมบัติของผู้ประกอบการธุรกิจ SMEs (ธุรกิจขนาดย่อม) 
            1.  ต้องกล้าเสี่ยงอย่างมีเหตุผล
            2.  ต้องมีความมั่นใจในตนเอง
            3.  ต้องเป็นผู้ที่ชอบทำงานหนักและทนทานต่อการทำงาน
            4.  ต้องเป็นผู้ที่มีความสามารถในการกำหนดเป้าหมาย
                มีการวางแผนเป็นขั้นตอนที่จะนำไปสู่เป้าหมายที่วางไว้อย่างมีประสิทธิภาพ
            5.  ต้องเป็นผู้ที่พร้อมที่จะรับผิดชอบต่อความสำเร็จหรือความล้มเหลวของธุรกิจ
                และจะต้องมีมาตรการที่จะควบคุมให้ธุรกิจดำเนินอยู่ตลอดไป
            6.  ต้องเป็นผู้ที่มีความคิดในทางสร้างสรรค์ที่จะนำผลิตภัณฑ์หรือบริการใหม่ๆ ออกสู่ตลาด


สาเหตุที่ทำให้บุคคลสนใจในการทำธุรกิจขนาดย่อม
  1.  มีความภูมิใจในการเป็นเจ้าของธุรกิจเพื่อเป็นการสร้างการยอมรับ
     จากสังคมมากกว่าการเป็นลูกจ้าง
  2.  การดำเนินธุรกิจขนาดย่อมเป็นงานที่สามารถสร้างความสำเร็จได้ในระยะเวลาอันสั้น
      ผู้ดำเนินธุรกิจสามารถแสดงความสามารถในการบริหารงานได้อย่างเต็มความสามารถ
  3.  ผู้ดำเนินธุรกิจมีความเป็นอิสระในการบริหารงานได้ตามความต้องการโดย
      ไม่ต้องอยู่ภายใต้การบังคับบัญชาของบุคคลอื่นทำให้สามารถตัดสินใจและแก้ไขปัญหาได้
      ด้วยตนเอง

หน่วยงานของรัฐบาลและสถาบันการเงินเฉพาะกิจของรัฐที่ช่วยเหลือ SMEs ในการให้สินเชื่อ

1. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (ไอเอฟซีที)    สถานที่ติดต่อ สำนักส่งเสริมธุรกิจ สำนักงานใหญ่  โทร 0-2253-7111

2. บรรษัทเงินทุนอุตสาหกรรมขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (บอย.)

    สถานที่ติดต่อ ฝ่ายสินเชื่อ สำนักงานใหญ่   โทร 0-2642-5201 - 10 

 3. บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บสย.)

    สถานที่ติดต่อ บรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม 
    อาคารชาญอิสระทาวเวอร์   โทร 0-2308-2741 - 8 


4. กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
   สถานที่ติดต่อ ส่วนบริหารเงินทุน สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมในครอบครัว
   และหัตถกรรม โทร 0-2248-8098 , 0-2202-4475

 5.ธนาคารแห่งประเทศไทย
   สถานที่ติดต่อ สายงานสินเชื่อ ฝ่ายการธนาคาร ธนาคารแห่งประเทศไทย
   โทร  0-2282-2414 , 0-2283-5414 ,  0-2283-5427

6. ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย (Exim   Bank)
   สถานที่ติดต่อ ธนาคารเพื่อการส่งออกและนำเข้าแห่งประเทศไทย
   อาคารเอ็กซิม สำนักงานใหญ่ โทร 0-2271-3700 ,   0-2278-0047

7. ธนาคารออมสิน
   สถานที่ติดต่อ กองสินเชื่อเพื่อพัฒนาชนบทและกองสินเชื่อเพื่อธุรกิจ
   ฝ่ายสินเชื่อ สำนักงานใหญ่ โทร  0-2299-8000    ต่อ 2112-3 

8. ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.)
   สถานที่ติดต่อ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์สำนักงานใหญ่
   โทร 0-2280-0180 ,   0-2281-7335


9. สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
    สถานที่ติดต่อ งานสนับสนุนการวิจัย พัฒนา และวิศวกรรมในภาคเอกชน
    ฝ่ายพัฒนาอุตสาหกรรมธุรกิจและเทคโนโลยี สำนักงาน  พัฒนาวิทยาศาสตร์
   และเทคโนโลยีแห่งชาติ โทร 0-2248-7541 - 8


การให้บริการของหน่วยงานของรัฐแก่  SMEs
1. สำนักพัฒนาธุรกิจอุตสาหกรรม (สพธ.)  สังกัด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม 
กระทรวงอุตสาหกรรม  หน้าที่หลักการพัฒนา และสนับสนุนทางวิชาการจัดการ
เพื่อเพิ่มสมรรถนะ และขีดความสามารถแก่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมโดยให้บริการ
ฝึกอบรมด้านเทคนิคการจัดการสาขาต่างๆ   สถานที่ติดต่อ สำนักพัฒนาธุรกิจ-
อุตสาหกรรม ชั้น 5  อาคารกรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรม
ถนนพระราม 6 เขตราชเทวี  กรุงเทพฯ 10400  โทรศัพท์ 0-2246-4301 - 2
โทรสาร 0-2246-4300 , 246-4302 

2. สำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน  สังกัด กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม
กระทรวงอุตสาหกรรม  หน้าที่หลักการพัฒนา และสนับสนุนทางวิชาการจัดการ
เพื่อเพิ่มสมรรถนะและขีดความสามารถแก่ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมโดยให้บริการ
ฝึกอบรมด้านเทคนิค  ในการทำงานของผู้ประกอบการ และช่างเทคนิค
ในอุตสาหกรรมประเภทต่างๆ  สถานที่ติดต่อสำนักพัฒนาอุตสาหกรรมสนับสนุน
กรมส่งเสริมอุตสาหกรรม กระทรวงอุตสาหกรรมซอยตรีมิตร  ถนนพระราม 4
เขตคลองเตย   กรุงเทพฯ  10110   โทรศัพท์ 0-2381-105 -3
โทรสาร 0-2381-1056


3. สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ
  สังกัด กรมส่งเสริมการส่งออก
กระทรวงพาณิชย์  หน้าที่หลักจัดการอบรมสัมมนา เพื่อให้ความรู้แก่ผู้ที่สนใจ
ทำธุรกิจเพื่อการส่งออกสถานที่ติดต่อ สถาบันฝึกอบรมการค้าระหว่างประเทศ
กรมส่งเสริมการส่งออก  22/77 ถนนรัชดาภิเษก เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0-2511-5066 - 77 ต่อ 358 , 476 และ 359


4. มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ฝ่ายอบรม สำนักส่งเสริมและฝึกอบรม
มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เปิดการอบรมวิชาชีพสำหรับประชาชน โดยร่วมกับ
ภาควิชาคณ ะและสถาบันของมหาวิทยาลัย เพื่อให้บริการในวิชาชีพแขนงต่าง ๆ
สถานที่ติดต่อฝ่ายฝึกอบรมสำนักส่งเสริมและฝึกอบรม มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
ถนนพหลโยธิน  เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900   โทรศัพท์ 0-2579-2294 ,
0-2942-8460 ต่อ 219 , 220 , 221 , 222 โทรสาร ต่อ 207

แหล่งเงินทุนในการประกอบธุรกิจSME

แหล่งเงินทุน
            เงินทุนที่ผู้ประกอบการนำมาใช้เริ่มต้นธุรกิจอาจจะมาจากส่วนของเจ้าของ หรือเงินทุนจากการก่อหนี้ ธุรกิจขนาดย่อมต้องการเงินทุนระยะสั้นและเงินทุนระยะยาวหลายประเภท ควรต้องการเงินทุนระยะสั้น ได้แก่ เงินทุนหมุนเวียน บัญชีลูกหนี้ และสินค้าคงเหลือ ส่วนความต้องการเงินทุนระยะยาว ได้แก่ ที่ดิน อาคาร เครื่องจักร เครื่องใช้ เครื่องตกแต่งและอุปกรณ์   แหล่งเงินทุนเพียงไม่กี่แห่งที่ให้ธุรกิจกู้ยืมเงินเพื่อตอบสนองความต้องการทุกอย่าง สถาบันการเงินส่วนใหญ่มีความเชี่ยวชาญในการให้กู้ยืมเงินเฉพาะความต้องการเพียงสองอย่างเท่านั้น

            
แหล่งเงินทุนจากส่วนของเจ้าของ เงินทุนจากส่วนของเจ้าของจะมาจากเงินออมส่วนตัว หุ้นส่วน หรือโดยการ
ขายหุ้นของบริษัทจำกัด แหล่งเงินทุนเพื่อใช้เริ่มต้นธุรกิจซึ่งเป็นแหล่งที่ดีที่สุดและนิยมใช้กันมากที่สุดคือ เงินออม
ของเจ้าของ เจ้าหน้าที่ที่ทำงานเกี่ยวกับธุรกิจขนาดย่อมมีส่วนแนะนำว่าผู้ประกอบการของธุรกิจขนาดย่อมควรจะจัด
หาเงินทุนเริ่มแรกอย่างน้อยที่สุด 50 เปอร์เซ็นต์ เงินทุนส่วนที่เหลือผู้ประกอบการอาจจำเป็นต้องใช้การกู้ยืมเงินที่
ต้องมีการชำระคืนพร้อมทั้งดอกเบี้ย หรือใช้วิธีหาผู้ร่วมทุนเข้ามาเป็นหุ้นส่วน หรือการขายหุ้นของบริษัทจำกัด
 หรือการเพิ่มทุนเพื่อให้กิจการมีเงินทุนเพียงพอในการดำเนินกิจการ


แหล่งเงินทุนจากการก่อหนี้ : แหล่งเงินทุนจากการก่อหนี้ของผู้ประกอบการธุรกิจ
ขนาดย่อมคือธนาคารพาณิชย์ผู้จำหน่ายสินค้า ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอุปกรณ์ บริษัทการเงิน บริษัทประกันภัย

 และนักลงทุนเอกชน

1. ธนาคารพาณิชย์ เป็นแหล่งเงินกู้ระยะสั้นแหล่งหนึ่งที่ให้กู้ยืมเงินทุนระยะสั้นมากกว่าสถาบันการเงิน
ประเภทอื่นๆ ทุกประเภทธนาคารพาณิชย์มักจะไม่ให้ธุรกิจกู้ยืมเงินเพื่อนำไปใช้ในการซื้อทรัพย์สินถาวร
ที่มีอายุการใช้งานเป็นเวลานาน เช่น อาคารและที่ดิน แต่ธนาคารมักจะให้ธุรกิจกู้ยืมเงินเพื่อนำไปซื้อ
อุปกรณ์และสินค้าคงเหลือ และธนาคารพาณิชย์ยังช่วยเหลือธุรกิจในการจัดหาเงินทุนโดยใช้บัญชีลูกหนี้

2. ผู้จำหน่ายสินค้า เป็นแหล่งสินเชื่อระยะสั้นที่สำคัญแหล่งหนึ่งของธุรกิจขนาดย่อม ผู้ที่จำหน่ายสินค้าให้กับ
ธุรกิจมักจะให้ความช่วยเหลือทางการเงิน เมื่อมีการซื้อสินค้าในระยะเวลาสั้นๆ 

3. ผู้ผลิตและผู้จำหน่ายอุปกรณ์ จะให้ความช่วยเหลือทางการเงินเมื่อธุรกิจต้องการซื้ออุปกรณ์ต่างๆ
 เพื่อจูงใจให้ธุรกิจซื้ออุปกรณ์ของตน เงินกู้ประเภทนี้จะอยู่ในรูปของสัญญาการขายผ่อนชำระ 

4. โรงงานอุตสาหกรรม คือ สถาบันการเงินที่ช่วยธุรกิจจัดหาเงินโดยการบัญชีลูกหนี้ค้ำประกัน 
 หรือโรงงานอุตสาหกรรมอาจซื้อหรือคิดลดบัญชีลูกหนี้ของธุรกิจ โดยมีเงื่อนไขเช่นเดียวกับธนาคารคือ
 กิจการจะรับผิดชอบบัญชีลูกหนี้ที่เรียกเก็บไม่ได้ในขณะเดียวกันโรงงานอุตสาหกรรมที่รับซื้อบัญชีลูกหนี้
  ก็จะวิเคราะห์ความสามารถในการเรียกเก็บเงินของกิจการด้วย

5. บริษัทการเงิน จะซื้อสัญญาการขายผ่อนชำระจากธุรกิจ เมื่อลูกค้าเซ็นสัญญาการขายผ่อนชำระกับธุรกิจ
 ธุรกิจจะขายสัญญานี้ให้แก่บริษัทการเงินและรับเงินเต็มค่าของสัญญาบริษัทการเงินจะทำสัญญากับผู้ประกอบ
การ โดยมีเป้าการขายและการขายสัญญาผ่อนชำระกับบริษัทการเงินว่าควรจะมียอดเงินจำนวนเท่าไรต่อปีหรือ
ต่องวด ซึ่งเป็นวิธีนิยมใช้กันมากในการขายรถยนต์และเครื่องใช้ขนาดใหญ่ บริษัทการเงินจะให้ความช่วยเหลือ
ทางการเงินแก่ผู้ขายรถยนต์ เพื่อนำเงินไปซื้อรถยนต์มาเก็บไว้ เมื่อกิจการขายรถยนต์ไปแล้ว บริษัทการเงินจะ
เรียกเก็บเงินผ่อนชำระพร้อมดอกเบี้ยจากผู้ซื้อโดยตรง

6. บริษัทประกันภัย จะให้เงินกู้ระยะยาวแก่ธุรกิจขนาดย่อม เพื่อนำไปซื้อทรัพย์สินถาวรบริษัทประกันภัยจะ
เก็บค่าเบี้ยประกันตามกรมธรรม์ประกันภัยและนำเงินที่เก็บได้ไปลงทุนในหุ้นพันธบัตร และให้ธุรกิจกู้ยืม
 บริษัทประกันภัยถูกควบคุมโดยหน่วยงานของรัฐบาลและประเภทของเงินกู้ที่จะให้ธุรกิจกู้ยืมได้ จะถูกควบคุม
ให้อยู่ภายในขอบเขตเพื่อปกป้องผลประโยชน์ผู้ถือกรมธรรม์บริษัทประกันภัยมักจะให้เงินกู้กับธุรกิจขนาดย่อม
ที่มีหลักประกันเป็นมูลค่าสูงเพื่อเป็นการประกันการชำระคืนเงินกู้

7. นักลงทุนเอกชน เงินออกของประชาชนเป็นแหล่งเงินทุนของธุรกิจขนาดย่อม ธุรกิจจะกู้ยืมเงินที่มี
ระยะเวลาชำระคืนระหว่าง 1- 5 ปี นักลงทุนเอกชนมักจะเป็นบุคคลที่เต็มใจเสี่ยงนำเงินไปลงทุนในธุรกิจ
 เพื่อให้ได้รับดอกเบี้ยในอัตราที่สูงกว่าอัตราดอกเบี้ยของเงินออกและพันธบัตร

ธุรกิจขนาดSME

ความหมายของธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม
ธุรกิจ หมายถึง การดำเนินกิจกรรมทางด้านการผลิต การจำหน่าย และการบริการ
ธุรกิจ SMEs หรือ ธุรกิจขนาดย่อม หมายถึง ธุรกิจที่เป็นอิสระมีเอกชนเป็นเจ้าของ
ดำเนินการโดยเจ้าของเอง ไม่เป็นเครื่องมือของธุรกิจใดไม่ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของบุคคล
หรือธุรกิจอื่น มีต้นทุนในการดำเนินงานต่ำและมีพนักงานจำนวนไม่มาก

ความสำคัญของธุรกิจขนาดย่อม
1. ธุรกิจขนาดย่อมช่วยในการพัฒนาด้านเศรษฐกิจและสังคม เนื่องจากธุรกิจขนาดย่อม
ช่วยให้เกิดการกระจายรายได้จากกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจไปสู่กลุ่มคนต่าง ๆ ทำให้เกิดการจ้างงาน
และประชาชน มีรายได้ ซึ่งเป็นตัวช่วยให้โครงสร้างทางเศรษฐกิจและสังคมดีขึ้น

2. ธุรกิจขนาดย่อมเป็นจุดเริ่มต้นของธุรกิจขนาดใหญ่เพราะความเจริญก้าวหน้าของธุรกิจขนาดย่อม
ทำให้ธุรกิจมั่นคงมียอดการผลิตที่สูงขึ้น และมีการนำเทคโนโลยีที่สูงขึ้นมาใช้ในการผลิตซึ่งสิ่งเหล่านี้
เป็นฐานไปสู่ธุรกิจขนาดใหญ่

3. ธุรกิจขนาดย่อมเป็นแหล่งผลิตสินค้าใหม่ ๆ เป็นการรวมกลุ่มของบุคคลร่วมกันคิด
และผลิตผลิตภัณฑ์ใหม่ ๆ ออกมาสู่ตลาด โดยที่ธุรกิจขนาดใหญ่ไม่กล้าเสี่ยงต่อการลงทุน

ธุรกิจ lady gaga

ยินดีต้อนรับ

ยินดีต้อนรับเข้าสู่ Blogger ของ รุ่งฤดี จันเหลือง Blog นี้สร้างเพื่อไว้ใช้เรียนในรายวิชาอินเตอร์เน็ตในชีวิตประจำวัน